วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีการสื่อสาร
     ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ดังนี้
   เทคโนโลยี หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
    สารสนเทศ  หมายถึง  ข่าวสาร  การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
    ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริง  หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
    การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร

จากความหมายดังกล่าว  สามารถกล่าวขยายอธิบายเพิ่มเติมได้  คือ
       เทคโนโลยี (Technology) มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง  วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า ลอจิก (Logic) ซึ่งหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว (Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliably) และความถูกต้อง  ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์
       
อย่างไรก็ตาม  ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี  ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร  และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย  เทคโนโลยีสำหรับการผลิต  การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
       
เทคโนโลยี  ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ  โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์  หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง  ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม  และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน

การสื่อสาร (Communication)  แต่เดิมมักได้ยินแต่คำว่า IT  หรือ Information Technology  เท่านั้น
ต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย  เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาอย่างมาก  และสามารถที่จะนำสื่อสารในเทคโนโลยีได้การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ  3  ส่วน ได้แก่  ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย  และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย  
เทคโนโลยีการสื่อสาร  ได้แก่  อินเทอร์เน็ต  โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (WorldWideWeb)  หรือ  (web)
                   จึงกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง  "วิทยาการต่างๆ  ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง"   กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  กับการจัดการสารสนเทศ  ที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก  ตั้งแต่การรวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เพื่อให้ได้สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต  การบริการ  การบริหารและ การดำเนินงานต่าง ๆ   รวมทั้งเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้   ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ  การค้า  และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณภาพของประชาชนในสังคมปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ  เช่น  นำมาใช้ในวงการแพทย์  เรียกว่า  เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (AgriculturalTechnology)  นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) 

เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่
1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร
                   เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม เทคโนโลยีเป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)

                   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผลพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 
(Heinich , Molenda and Russell.1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ  ที่ได้รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
 2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้
กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)   เช่น ระบบ
คอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)

ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art ofcraft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556


รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (AGV)
               
                       เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ  เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน  สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms) หลาย ๆ แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย  เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive  fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic  line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง (active  guide  wire) ฝังไปในพื้น
                ส่วนประกอบของการนำทางของ AGV ประกอบด้วยตัวนำทิศทางระบบซึ่งปล่อยรถออกและควบคุมการนำทาง  การติดต่อกับรถทำได้โดยลวดนำทางซึ่งฝังไว้ใต้พื้น  ตัวนำระบบถูกติดต่อกับรถทั้งหมดตลอดเวลา  แต่ละคันมีความถี่นำทางของมันเองและตามลวดนำทางไปกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensor) ความถี่การติดต่อระดับสูงกว่าถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างตัวนำระบบกับแผงคอมพิวเตอร์ (on-board computers) ดังนั้นตัวนำระบบจะได้รับการแจ้งตลอดเวลาเกี่ยวกับตำแหน่งและสภาวะของการยกของรถ  ตำแหน่งของรถสามารถแสดงได้บนสถานี (terminal) วัสดุซึ่งอยู่บนรถถูกกำหนดโดยการอ่านสัญลักษณ์บาร์โค๊ด (bar code) และข่าวสารถูกถ่ายทอดไปโดยช่องของข้อมูลไปยังตัวนำระบบ  การเดินทางของรถทั่วทั้งโรงงานถูกกำหนด ณ จุดยุทธศาสตร์เนื่องจากผลตอบสนองในพื้นและตัวรับในรถ ณ จุดที่กำหนดรถได้รับคำแนะนำในการติดตามเส้นทางที่ให้ไว้  หน้าที่ที่จำเป็นของตัวนำระบบมีดังนี้
                      1. การเลือกของรถและการจัดการกับรถที่ว่าง
                      2. การควบคุมของการจัดสรรลำดับของรถ
                      3. การเก็บข้อมูลของตัวขนถ่าย
                      4. การควบคุมของทิศทางที่ถูกต้อง
ประโยชน์

1. ประหยัดค่าแรงงานคนในระยะยาว  
รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด 
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)
ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 1 คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 2 คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน 3 คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี  
ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา 2ปี 6 เดือน ถ้าใช้งาน 1 กะ:วัน1ปี 3 เดือน ถ้าใช้งาน 2 กะ:วัน เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน 3 กะ:วัน ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้นใน กรณีศึกษา ที่มีการใช้คนงาน 6 คน และ รถ Power stacker 3 คัน  หากมีการใช้ AGV power stacker แทน และใช้งานถึง 3 กะ ปริมาณงานที่ได้จาก รถAGV 
 ก็จะเท่ากับ ปริมาณงานของคนงานถึง 9 คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมา ประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  

2. เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการทำงาน 
รถAGV เริ่มงานได้ตรงเวลา ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นโดยไม่ต้องหยุดพัก เข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ คุยโทรศัพท์ 
 รถAGV ไม่ลาหยุด หรือ ลากิจ ไม่ขาดงานบ่อย งานจะเดินได้สม่ำเสมอ 
 กรณี รถเสียทางบริษัทมีบริการ Service online เป็นบริการที่รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย หรือถ้าต้อง มีการ service onsite เราก็สามารถบริการได้รวดเร็ว
เพราะเป็นช่างในเมืองไทย ไม่ต้องรอจากต่างประเทศ 
 ความคุ้มทุนจึงเกิดจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

3. ลดต้นทุนแฝงด้านความเสียหายที่เกิดจากคนขับ
ความ ผิดพลาดจากมนุษย์เป็นเรื่องปรกติ การขับเฉี่ยว ชน เกิดขึ้นจากความประมาท เลินเล่อ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นกับรถAGV เป็นการลดความเสียหายของสินค้า
และตัวรถยกเองก็มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น 
การ ลงทุนด้าน Automation จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนความเสียหาย โดยการควบคุมด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ และ อุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยว ชน
ความคุ้มทุนจะมาอยู่ที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ ปราศจากอุบัติเหตุ ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซม

4. เพิ่มภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้แก่บริษัท
เป็น ผลดี ด้านจิตวิทยา ทำให้บริษัทก้าวทันยุค เทียบเท่ากับบริษัทระดับโลก ซึ่งใช้ระบบAutomation  มานานนับทศวรรษแล้ว ในการติดต่อกับลูกค้า โดยเฉพาะบริษัททีมีการติดต่อกับต่างประเทศ
เจ้าของกิจการจะรู้สึกได้เองว่า คุ้ม ที่ได้ปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยขึ้น
 การ คำนวนนี้ เป็นเพียงการประมาณการ  นักธุรกิจ หรือ นักบริหารที่เปรื่องปราชญ์ อาจจะมองความคุ้มทุนในด้าน automation ได้มากกว่าเขียนบทความก็เป็นได้พีเอ็นไครส์

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิก

รายชื่อสมาชิก
1. อาจารย์ ธภัทร   ชัยชูโชค   อ.ปาล์ม
2. นาย อภิวัฒน์   เจิมขวัญ   กุ้ง
3. นาย ชัยยงค์   ชูแก้ว   ปั๊ม
4. นาย วิโรจน์   เหมมาน   ลิฟ
5. นาย อาคม   เรืองกูล   แบงค์
6. นาย อนุพงษ์   เทพพรหม   ทิว
7. นายกฤษกร สุวรรณวงศ์   เอฟ
8. นายจตุพงค์ ณ สงขลา   พงค์
9.  นายจิรกิตต์ สุขเกษม   บอย
10.  นายจิรพงศ์ แจ่มศรี   เอฟ
11. นายเชิดชาย เรืองฤทธิ์   ชาย
12. นายตวิษ เพ็งศรี   บ่าว
13. นายธีรวุฒิ ศรีสวัสดิ์   วุฒิ
14. นายนพรัตน์ แก้วกำเนิด   เอ็กซ์
15. นายนันทปรีชา ปิยะ บุญสนอง   โปร
16. นายนิรันดร์ เสมอพบ   แบ
17. นายนิโรจน์ หวันปรัตน์   ซอล
18. นายปภังกร เอียดจุ้ย   กิ๊ฟ
19. นายปรินทร์ ผุดผ่อง   บอล
20. นายพิชชากร มีบัว   กร
21. นายพีระพงศ์ จันทร์ชู   พงศ์
22. นายภาคภูมิ จุลนวล   เจ
23. นายวงศธร  อินทมะโน  หลวงหมีด
24. นายรชต อารี   รอน
25. นายรุสดี วาลี   ซี
26. นายวสุ ราชสีห์   หนัง
27. นายวัชรินทร์ เขียนวารี   ปอนด์
28. นายวิฆเนศ ณ รังษี   หมู
29. นายวิโรจน์ เหมมาน   ลิฟ
30. นายศุภวัฒน์ ไชยของพรม   รุส
31. นายสมประสงค์ วงศ์สุวรรณ   ทู
32. นายสมศักดิ์ มากเอียด   กล้วย
33. นายสราวุฒิ เกบหมีน   ซอล
34. นายสานิต มิตสุวรรณ   ปอ
35. นายสุรเดช สม่าแห   ยา
36. นายสุรศักดิ์ สะเกษ   โจ้
37. นายเสะมาดี ตูแวดาแม   ดี
38. นายอนิรุตต์ ภาระบุญ   โต๋
39. นายอภิเดช ทองอินทร์   โหนด
40. นายอภิสิทธิ์ ยะโกบ   ดุล
41. นายอับดุลรอมัน บูกา  รอมัน
42. นายอับดุลเลาะ กาโฮง   เลาะ
43. นายอาจณรงค์ ราชูภิมนต์   มิค
44. นายอานนท์ นาควิเชียร   นนท์
45. นายอาลียะ สะอุ   ฟาน
46. นายอาหามะซุบฮี จะแน   มะ
47. นายอิสมาแอ   มะยี
48. นายจตุรงค์ หิรัญกูล   นิว
49. นายเกรียงศักดิ์   บุญประเสริฐ   เบียร์
50. นายพุฒิพงศ์   หนูนอง   เพชร

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ค้นหาบทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร พร้อมทั้งให้แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์บทความดังกล่าวว่ามีข้อดี ข้อเสีย หรือผลกระทบต่อตัวนักศึกษาหรือสังคมอย่างไร

                                                               โทรศัพท์มือถือ



โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน

ผลกระทบต่อสุขภาพ Basis of Health Concerns
โทรศัพท์มือถือแบบธรรมดาจะมีผลต่อสุขภาพสูงขึ้นถ้ามีเสาอากาศติดตั้งอยู่ด้วย ในขณะที่ใช้งานเสาอากาศจะอยู่ใกล้ชิดกับศีรษะของผู้ใช้ ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับระดับการได้รับรังสีไมโครเวฟของสมอง
โทรศัพท์ที่เสาอากาศถูกห่อหุ้มไว้จะมีผลน้อยกว่า เนื่องจากระดับของการได้รับรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อระยะห่างจากเสาอากาศเพิ่มขึ้น โทรศัพท์ไร้สายที่ใช้งานโดยอยู่ห่างจากเครื่องรับได้ในระยะไม่เกิน 20 เมตร การใช้งานจะไม่มีผลต่อสุขภาพเนื่องจากระดับรังสีต่ำมาก
มีรายงานจำนวนมากปรากฏในสื่อต่างๆ ว่ามีอาการผิดปกติที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น ปวดศีรษะ มีจุดร้อน (hot spots) ในสมองและมะเร็งสมอง
มีรายงานในสื่อเหล่านั้นว่า ประมาณ 70% ของไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือจะถูกดูดกลืนไปที่ศีรษะของผู้ใช้ เรื่องนี้ไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัด แต่ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดจุดร้อน (hot spots) ขึ้นในสมองของผู้ใช้ ทำให้การใช้โทรศัพท์มือถืออาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีรายงานบางแห่งที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้หลายรายมีอาการปวดศีรษะหลังจากใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะนี้จึงเป็นการยากที่จะประเมินความแน่นอนของรายงานเหล่านี้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานออกมาอย่างเป็นทางการ
มีรายงานถึงการเกิดมะเร็งสมองในอเมริกาว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ฟ้องร้องผู้ผลิตหรือจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ว่าไมโครเวฟจากโทรศํพท์มือถือทำให้พวกเขาเกิดมะเร็งสมอง แต่เมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่าบางรายเกิดความเข้าใจผิด

                ผลของการได้รับไมโครเวฟที่เราทราบแล้ว
ไมโครเวฟเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง สิ่งที่แสดงคุณสมบัติของคลื่นเหล่านี้คือความถี่ บางช่วงความถี่เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการสื่อสารรวมทั้งไมโครเวฟด้วย
มีประชาชนบางส่วนเข้าใจผิดเนื่องจากการเผยแพร่ของสื่อ ถึงโอกาสของการได้รับผลกระทบจากการได้รับคลื่นจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งมีความถี่ต่ำกว่าไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือมาก คุณสมบัติและผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตของคลื่นชนิดนี้แตกต่างจากไมโครเวฟมาก การนำรายงานการศึกษาที่เกิดจากคลื่นชนิดนี้มาขยายผล (extrapolate) จึงไม่มีความหมายใดๆ
มาตรฐานการป้องกันรังสี (ARPANSA Radiation Protection Standard) ซึ่งกำหนดระดับการได้รับรังสีสูงสุดสำหรับคลื่นความถี่ 3 กิโลเฮิร์ต – 300 กิกะเฮิร์ต ("Maximum Exposure Levels to Radiofrequency Fields - 3kHz to 300 GHz ") ซึ่งเป็นสิ่งที่ทราบแน่ชัดแล้วถึงผลทางด้านความร้อน (thermal effects) ที่เกิดจากการได้รับไมโครเวฟ นั่นคือ เมื่อเนื้อเยื่อได้รับไมโครเวฟสูงถึงระดับหนึ่ง เนื้อเยื่อจะร้อนและเกิดความเสียหาย ขีดจำกัดของการได้รับรังสี (exposure limits) จึงกำหนดเอาไว้ต่ำกว่าระดับที่จะทำให้เกิดความร้อน มาตรฐานนี้ได้กำหนดขีดจำกัดของการได้รับรังสีที่ไม่ทำให้เกิดความร้อน (non-thermal effects)
โทรศัพท์มือถือทั้งหมดที่วางจำหน่ายในออสเตรเลีย จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับของ Australian Communications and Media Authority (ACMA) และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพดานกำลังส่งของโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น จึงคาดว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะไม่ทำให้เกิดความร้อนกับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย
รายงานบางชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีผลที่ไม่ใช่ความร้อน (non-thermal effect) เกิดขึ้นจากการได้รับไมโครเวฟระดับต่ำ แต่ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ยังไม่แน่ชัดพอที่จะนำมาใช้กำหนดไว้ในมาตรฐานได้