วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ค้นหาบทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร พร้อมทั้งให้แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์บทความดังกล่าวว่ามีข้อดี ข้อเสีย หรือผลกระทบต่อตัวนักศึกษาหรือสังคมอย่างไร

                                                               โทรศัพท์มือถือ



โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน

ผลกระทบต่อสุขภาพ Basis of Health Concerns
โทรศัพท์มือถือแบบธรรมดาจะมีผลต่อสุขภาพสูงขึ้นถ้ามีเสาอากาศติดตั้งอยู่ด้วย ในขณะที่ใช้งานเสาอากาศจะอยู่ใกล้ชิดกับศีรษะของผู้ใช้ ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับระดับการได้รับรังสีไมโครเวฟของสมอง
โทรศัพท์ที่เสาอากาศถูกห่อหุ้มไว้จะมีผลน้อยกว่า เนื่องจากระดับของการได้รับรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อระยะห่างจากเสาอากาศเพิ่มขึ้น โทรศัพท์ไร้สายที่ใช้งานโดยอยู่ห่างจากเครื่องรับได้ในระยะไม่เกิน 20 เมตร การใช้งานจะไม่มีผลต่อสุขภาพเนื่องจากระดับรังสีต่ำมาก
มีรายงานจำนวนมากปรากฏในสื่อต่างๆ ว่ามีอาการผิดปกติที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น ปวดศีรษะ มีจุดร้อน (hot spots) ในสมองและมะเร็งสมอง
มีรายงานในสื่อเหล่านั้นว่า ประมาณ 70% ของไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือจะถูกดูดกลืนไปที่ศีรษะของผู้ใช้ เรื่องนี้ไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัด แต่ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดจุดร้อน (hot spots) ขึ้นในสมองของผู้ใช้ ทำให้การใช้โทรศัพท์มือถืออาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีรายงานบางแห่งที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้หลายรายมีอาการปวดศีรษะหลังจากใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะนี้จึงเป็นการยากที่จะประเมินความแน่นอนของรายงานเหล่านี้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานออกมาอย่างเป็นทางการ
มีรายงานถึงการเกิดมะเร็งสมองในอเมริกาว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ฟ้องร้องผู้ผลิตหรือจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ว่าไมโครเวฟจากโทรศํพท์มือถือทำให้พวกเขาเกิดมะเร็งสมอง แต่เมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่าบางรายเกิดความเข้าใจผิด

                ผลของการได้รับไมโครเวฟที่เราทราบแล้ว
ไมโครเวฟเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง สิ่งที่แสดงคุณสมบัติของคลื่นเหล่านี้คือความถี่ บางช่วงความถี่เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการสื่อสารรวมทั้งไมโครเวฟด้วย
มีประชาชนบางส่วนเข้าใจผิดเนื่องจากการเผยแพร่ของสื่อ ถึงโอกาสของการได้รับผลกระทบจากการได้รับคลื่นจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งมีความถี่ต่ำกว่าไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือมาก คุณสมบัติและผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตของคลื่นชนิดนี้แตกต่างจากไมโครเวฟมาก การนำรายงานการศึกษาที่เกิดจากคลื่นชนิดนี้มาขยายผล (extrapolate) จึงไม่มีความหมายใดๆ
มาตรฐานการป้องกันรังสี (ARPANSA Radiation Protection Standard) ซึ่งกำหนดระดับการได้รับรังสีสูงสุดสำหรับคลื่นความถี่ 3 กิโลเฮิร์ต – 300 กิกะเฮิร์ต ("Maximum Exposure Levels to Radiofrequency Fields - 3kHz to 300 GHz ") ซึ่งเป็นสิ่งที่ทราบแน่ชัดแล้วถึงผลทางด้านความร้อน (thermal effects) ที่เกิดจากการได้รับไมโครเวฟ นั่นคือ เมื่อเนื้อเยื่อได้รับไมโครเวฟสูงถึงระดับหนึ่ง เนื้อเยื่อจะร้อนและเกิดความเสียหาย ขีดจำกัดของการได้รับรังสี (exposure limits) จึงกำหนดเอาไว้ต่ำกว่าระดับที่จะทำให้เกิดความร้อน มาตรฐานนี้ได้กำหนดขีดจำกัดของการได้รับรังสีที่ไม่ทำให้เกิดความร้อน (non-thermal effects)
โทรศัพท์มือถือทั้งหมดที่วางจำหน่ายในออสเตรเลีย จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับของ Australian Communications and Media Authority (ACMA) และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพดานกำลังส่งของโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น จึงคาดว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะไม่ทำให้เกิดความร้อนกับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย
รายงานบางชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีผลที่ไม่ใช่ความร้อน (non-thermal effect) เกิดขึ้นจากการได้รับไมโครเวฟระดับต่ำ แต่ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ยังไม่แน่ชัดพอที่จะนำมาใช้กำหนดไว้ในมาตรฐานได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น