วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิก

รายชื่อสมาชิก
1. อาจารย์ ธภัทร   ชัยชูโชค   อ.ปาล์ม
2. นาย อภิวัฒน์   เจิมขวัญ   กุ้ง
3. นาย ชัยยงค์   ชูแก้ว   ปั๊ม
4. นาย วิโรจน์   เหมมาน   ลิฟ
5. นาย อาคม   เรืองกูล   แบงค์
6. นาย อนุพงษ์   เทพพรหม   ทิว
7. นายกฤษกร สุวรรณวงศ์   เอฟ
8. นายจตุพงค์ ณ สงขลา   พงค์
9.  นายจิรกิตต์ สุขเกษม   บอย
10.  นายจิรพงศ์ แจ่มศรี   เอฟ
11. นายเชิดชาย เรืองฤทธิ์   ชาย
12. นายตวิษ เพ็งศรี   บ่าว
13. นายธีรวุฒิ ศรีสวัสดิ์   วุฒิ
14. นายนพรัตน์ แก้วกำเนิด   เอ็กซ์
15. นายนันทปรีชา ปิยะ บุญสนอง   โปร
16. นายนิรันดร์ เสมอพบ   แบ
17. นายนิโรจน์ หวันปรัตน์   ซอล
18. นายปภังกร เอียดจุ้ย   กิ๊ฟ
19. นายปรินทร์ ผุดผ่อง   บอล
20. นายพิชชากร มีบัว   กร
21. นายพีระพงศ์ จันทร์ชู   พงศ์
22. นายภาคภูมิ จุลนวล   เจ
23. นายวงศธร  อินทมะโน  หลวงหมีด
24. นายรชต อารี   รอน
25. นายรุสดี วาลี   ซี
26. นายวสุ ราชสีห์   หนัง
27. นายวัชรินทร์ เขียนวารี   ปอนด์
28. นายวิฆเนศ ณ รังษี   หมู
29. นายวิโรจน์ เหมมาน   ลิฟ
30. นายศุภวัฒน์ ไชยของพรม   รุส
31. นายสมประสงค์ วงศ์สุวรรณ   ทู
32. นายสมศักดิ์ มากเอียด   กล้วย
33. นายสราวุฒิ เกบหมีน   ซอล
34. นายสานิต มิตสุวรรณ   ปอ
35. นายสุรเดช สม่าแห   ยา
36. นายสุรศักดิ์ สะเกษ   โจ้
37. นายเสะมาดี ตูแวดาแม   ดี
38. นายอนิรุตต์ ภาระบุญ   โต๋
39. นายอภิเดช ทองอินทร์   โหนด
40. นายอภิสิทธิ์ ยะโกบ   ดุล
41. นายอับดุลรอมัน บูกา  รอมัน
42. นายอับดุลเลาะ กาโฮง   เลาะ
43. นายอาจณรงค์ ราชูภิมนต์   มิค
44. นายอานนท์ นาควิเชียร   นนท์
45. นายอาลียะ สะอุ   ฟาน
46. นายอาหามะซุบฮี จะแน   มะ
47. นายอิสมาแอ   มะยี
48. นายจตุรงค์ หิรัญกูล   นิว
49. นายเกรียงศักดิ์   บุญประเสริฐ   เบียร์
50. นายพุฒิพงศ์   หนูนอง   เพชร

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ค้นหาบทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร พร้อมทั้งให้แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์บทความดังกล่าวว่ามีข้อดี ข้อเสีย หรือผลกระทบต่อตัวนักศึกษาหรือสังคมอย่างไร

                                                               โทรศัพท์มือถือ



โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน

ผลกระทบต่อสุขภาพ Basis of Health Concerns
โทรศัพท์มือถือแบบธรรมดาจะมีผลต่อสุขภาพสูงขึ้นถ้ามีเสาอากาศติดตั้งอยู่ด้วย ในขณะที่ใช้งานเสาอากาศจะอยู่ใกล้ชิดกับศีรษะของผู้ใช้ ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับระดับการได้รับรังสีไมโครเวฟของสมอง
โทรศัพท์ที่เสาอากาศถูกห่อหุ้มไว้จะมีผลน้อยกว่า เนื่องจากระดับของการได้รับรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อระยะห่างจากเสาอากาศเพิ่มขึ้น โทรศัพท์ไร้สายที่ใช้งานโดยอยู่ห่างจากเครื่องรับได้ในระยะไม่เกิน 20 เมตร การใช้งานจะไม่มีผลต่อสุขภาพเนื่องจากระดับรังสีต่ำมาก
มีรายงานจำนวนมากปรากฏในสื่อต่างๆ ว่ามีอาการผิดปกติที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น ปวดศีรษะ มีจุดร้อน (hot spots) ในสมองและมะเร็งสมอง
มีรายงานในสื่อเหล่านั้นว่า ประมาณ 70% ของไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือจะถูกดูดกลืนไปที่ศีรษะของผู้ใช้ เรื่องนี้ไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัด แต่ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดจุดร้อน (hot spots) ขึ้นในสมองของผู้ใช้ ทำให้การใช้โทรศัพท์มือถืออาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีรายงานบางแห่งที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้หลายรายมีอาการปวดศีรษะหลังจากใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะนี้จึงเป็นการยากที่จะประเมินความแน่นอนของรายงานเหล่านี้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานออกมาอย่างเป็นทางการ
มีรายงานถึงการเกิดมะเร็งสมองในอเมริกาว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ฟ้องร้องผู้ผลิตหรือจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ว่าไมโครเวฟจากโทรศํพท์มือถือทำให้พวกเขาเกิดมะเร็งสมอง แต่เมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่าบางรายเกิดความเข้าใจผิด

                ผลของการได้รับไมโครเวฟที่เราทราบแล้ว
ไมโครเวฟเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง สิ่งที่แสดงคุณสมบัติของคลื่นเหล่านี้คือความถี่ บางช่วงความถี่เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการสื่อสารรวมทั้งไมโครเวฟด้วย
มีประชาชนบางส่วนเข้าใจผิดเนื่องจากการเผยแพร่ของสื่อ ถึงโอกาสของการได้รับผลกระทบจากการได้รับคลื่นจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งมีความถี่ต่ำกว่าไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือมาก คุณสมบัติและผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตของคลื่นชนิดนี้แตกต่างจากไมโครเวฟมาก การนำรายงานการศึกษาที่เกิดจากคลื่นชนิดนี้มาขยายผล (extrapolate) จึงไม่มีความหมายใดๆ
มาตรฐานการป้องกันรังสี (ARPANSA Radiation Protection Standard) ซึ่งกำหนดระดับการได้รับรังสีสูงสุดสำหรับคลื่นความถี่ 3 กิโลเฮิร์ต – 300 กิกะเฮิร์ต ("Maximum Exposure Levels to Radiofrequency Fields - 3kHz to 300 GHz ") ซึ่งเป็นสิ่งที่ทราบแน่ชัดแล้วถึงผลทางด้านความร้อน (thermal effects) ที่เกิดจากการได้รับไมโครเวฟ นั่นคือ เมื่อเนื้อเยื่อได้รับไมโครเวฟสูงถึงระดับหนึ่ง เนื้อเยื่อจะร้อนและเกิดความเสียหาย ขีดจำกัดของการได้รับรังสี (exposure limits) จึงกำหนดเอาไว้ต่ำกว่าระดับที่จะทำให้เกิดความร้อน มาตรฐานนี้ได้กำหนดขีดจำกัดของการได้รับรังสีที่ไม่ทำให้เกิดความร้อน (non-thermal effects)
โทรศัพท์มือถือทั้งหมดที่วางจำหน่ายในออสเตรเลีย จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับของ Australian Communications and Media Authority (ACMA) และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพดานกำลังส่งของโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น จึงคาดว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะไม่ทำให้เกิดความร้อนกับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย
รายงานบางชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีผลที่ไม่ใช่ความร้อน (non-thermal effect) เกิดขึ้นจากการได้รับไมโครเวฟระดับต่ำ แต่ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ยังไม่แน่ชัดพอที่จะนำมาใช้กำหนดไว้ในมาตรฐานได้